ปวดประจำเดือน

pjd  

ปวดประจำเดือน (Menstrual Cramps)

      อาการปวดประจำเดือน จัดเป็นกลุ่มอาการปวดบีบหรือปวดเกร็งที่บริเวณท้องน้อยที่เกิดขึ้นมาก่อนที่จะเป็นประจำเดือนหรือในช่วงระหว่างการเป็นประจำเดือน ความรุนแรงของอาการดังกล่าวสามารถเริ่มต้นจากระดับอ่อน ๆ ไปจนถึงระดับที่ไม่สามารถต้านทานได้ ซึ่งรวมไปถึงอาการปวดท้องน้อย ความรู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะมาก โดยอาการปวดที่รุนแรงนั้นจะให้ความรู้สึกเหมือนกับเรายกของที่มีน้ำหนักมาก และอาการปวดประจำเดือนนั้นอาจจะมีอาการอื่น ๆ มาร่วมด้วย เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาการท้องเสีย   จำนวนผู้หญิงมากกว่าครึ่งหนึ่งของคนที่เป็นประจำเดือนจะมีอาการปวดเกร็งอยู่ประมาณ 1-2 วันของแต่ละเดือน และอีก 15% ของผู้หญิงเหล่านั้นจะมีอาการปวดประจำเดือนที่รุนแรง

 

โรคหรือสภาวะที่สามารถทำให้เกิดการปวดประจำเดือน

  • Endometriosis สภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สภาวะนี้ เยื่อบุโพรงมดลูกจะเติบโตนอกโพรงมดลูก ส่วนมากจะเกิดสะสมที่รังไข่ เรียกว่า Chocolateeyst (ช็อกโกแลตซีส)
  • Fribroids หรือ เนื้องอกในมดลูก เนื้องอกเหล่านี้ไม่เป็นเนื้อร้ายจึงไม่ก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งในมดลูก แต่อาจทำให้มีอาการปวดประจำเดือนมากหรือประจำเดือนมามาก
  • การอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

วิธีบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

  • ยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ที่มักจะใช้ได้ผลในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน เช่น พอนสแตน
  • ยาที่จ่ายตามใบสั่งแพทย์ หากยาชนิด NSAIDs ที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปนั้นไม่สามารถทำให้หายปวดได้  ให้ปรึกษาแพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการปวดที่แรงขึ้นกว่าเดิมให้สำหรับคุณ
  • ยาคุมกำเนิด คือฮอร์โมนคุมกำเนิด สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ โดยไปยับยั้งการตกไข่ หากคุณไม่มีการตกไข่ อาการปวดประจำเดือนก็จะน้อยลง
  • การผ่าตัด  ใช้ในกรณีที่เป็นเนื้องอกในมดลูกและสภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่มีขนาดใหญ่หรือรักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น

ธรรมชาติบำบัดสำหรับอาการปวดประจำเดือน

  • การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดิน วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน และว่ายน้ำจะทำให้สมองหลั่งสารเคมีที่ชื่อ Endorphins เพื่อช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
  • การใช้ความร้อน การได้อาบน้ำอุ่นหรือประคบท้องน้อยด้วยขวดน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนจะช่วยให้อาการปวดประจำเดือนลดลงได้ ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมสำหรับสาว ๆ ที่มีอาการปวดประจำเดือน
  • การนวด ฝึกทำการนวดเบา ๆ วน ๆ รอบ ๆ ท้องน้อยของคุณหรือให้คนอื่นช่วยนวดให้
  • การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม จากงานวิจัยพบว่าอาหารเสริมประเภทแคลเซียมสามารถช่วยบรรเทาอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวจากอาการปวดประเดือนและอาการอื่น ๆ ที่แสดงทางอารมณ์ก่อนการมีประจำเดือนได้
  • การฝังเข็ม จากการศึกษาพบว่าการขังเข็มอาจจะช่วยลดบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ เนื่องจากมีการทดสอบทางคลินิกที่มีผู้ป่วยอาการปวดประจำเดือนชนิดรุนแรงและได้รับการฝังเข็มจำนวน 15 ครั้งในระยะเวลา 3 เดือน พบว่ามีอาการปวดประจำเดือนน้อยลงเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับการฝังเข็ม

ที่มา : รศ. นพ. สมชาย ทั้งไพศาล 

อนาคตของเรา โรงพยาบาลของเรา

    49 512   198  ถนนราชดำเนิน   ตำบลในเมือง อำเภอเมือง

    49 512   จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000

   images  โทร. 075-340250  

เกี่ยวกับคุกกี้บนเวปไซด์นี้

ความยินยอมข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ โดยให้ความยินยอมสำหรับคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ และเพื่อประสิทธิภาพ รวมถึงความยินยอมในการเข้าถึงข้อมูล