ทิศทางองค์กร โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ปี2566-2570
“ทศวรรษแห่งการพัฒนาสู่ 1+ Hospital”
แผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี
โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช (พ.ศ. 2566-2570)
-
วิสัยทัศน์ (Vision)
“โรงพยาบาลศูนย์ชั้นนำระดับประเทศที่เป็นเลิศทางการแพทย์ ทันสมัย และ เป็นองค์กรแห่งความสุข”
..พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ 1 plus อย่างมั่นคง..
โรงพยาบาลศูนย์ชั้นนำระดับประเทศที่เป็นเลิศทางการแพทย์ หมายถึง
ความสำเร็จในการพัฒนาสู่โรงพยาบาลชั้นนำระดับ 1 Plus : 1 ใน 4 อันดับแรกของโรงพยาบาลศูนย์ระดับประเทศ โดยพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ระดับ 1 plus (ศักยภาพ , คุณภาพ) ตามเป้าหมายการบริการทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
|
|
|
|
แผนการพัฒนาการบริการทางการแพทย์สู่ความเป็นเลิศ (Excellent Center) |
ปีงบประมาณ |
|
1. ศูนย์โรคหัวใจ |
2565 |
2. ศูนย์มะเร็งครบวงจร |
2565 |
|
3. ศูนย์ทารกแรกเกิด |
2565 |
|
|
4. ศูนย์ส่องกล้อง |
2566 |
|
5. ศูนย์ผิวหนังและเลเซอร์ |
2566 |
|
6. ศูนย์ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า |
2567 |
|
7. ศูนย์การผ่าตัดแบบแผลเล็ก (MIS) |
2567 |
8. ศูนย์ทันตกรรมอนุรักษ์ครบวงจร |
2567 |
|
9. ศูนย์รักษาข้อเข่าเสื่อมแบบครบวงจร |
2567 |
|
10.ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬา |
2567 |
|
11.ศูนย์โรคไต |
2567 |
|
12.ศูนย์ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างและอวัยวะเพศชาย |
2567 |
|
13.ศูนย์การดูแลสตรีวัยหมดระดู |
2568 |
|
14.ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน (Trauma) |
2569 |
|
15.ศูนย์โรคหลอดเลือดครบวงจร (Vascular) |
2569 |
|
16.ศูนย์หลอดเลือดสมอง (Stroke) |
2570 |
|
17.ศูนย์บริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ |
2570 |
|
|
18.ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ |
2570 |
|
19.ศูนย์เลสิค (LASIK) |
2570 |
โดยมีระบบการบริการที่ยอดเยี่ยม มีคุณภาพมาตรฐานสากล นำเกณฑ์ความเป็นเลิศระดับสากลมาปรับใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของโรงพยาบาล (เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ Thailand Quality Award : TQA) และผ่านมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลระดับ Advanced Hospital Accreditation : A-HA
โรงพยาบาลทันสมัย ดำเนินการ ภายใต้กรอบการพัฒนาคุณภาพเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล HAIT
Maturity of Essential IT Improvement Activities 7 ด้าน
-
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ :IT Master Plan
-
การจัดการความเสี่ยง : IT Risk Management
-
การจัดการความมั่นคงปลอดภัยพื้นฐาน : Basic Security Management
-
การจัดการบริการและอุบัติการณ์ : IT Service and Incident Management
-
การพัฒนาคุณภาพข้อมูล : Data Quality Improvement
-
การวิเคราะห์ออกแบบระบบก่อนการเขียนโปรแกรม : System Analysis Design
-
การจัดการศักยภาพและสมรรถนะ : IT Capacity and Competency Management
องค์กรแห่งความสุข หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรมุ่งเน้นการสร้างเสริมบุคลากรให้มีทั้งสุขภาพที่ดีและมีความสุขในการทำงาน โดยอาศัยหลักการ 3 ประการคือ
1) คนทำงานมีความสุข (Happy People) การจัดสมดุลชีวิตในการทำงานได้อย่างมืออาชีพ มีศีลธรรมอันดีงาม และเอื้ออาทรต่อตนเองและผู้อื่น
2) ที่ทำงานน่าอยู่ (Happy Workplace) ที่ทำงานมีความปลอดภัย ดูแลความสุขในการทำงานของบุคลากรให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการอยู่ร่วมกัน และมีการพัฒนาร่วมกัน
3) การทำงานเป็นทีม (Happy Teamwork
มีทั้งหมด 5 หมวด ได้แก่
หมวดที่ 1 ความสำเร็จเชิงผลลัพธ์ เป็นที่ยอมรับของสังคม และความพึงพอใจของผู้รับบริการ)
หมวดที่ 2 การบริหาร (ระบบและกลไกบริหารผลตอบแทนการทำงาน การจัดสวัสดิการบุคลากร การให้รางวัลยกย่องบุคลากร ความก้าวหน้าในอาชีพ และการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมในองค์กร)
หมวดที่ 3 มุ่งเน้นดูแลสุขภาพกาย-ใจของบุคลากร (การดูแลความสุขของครอบครัว การจัดการทำงานที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพ การประเมินสุขภาพของบุคลากร ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ จัดการความเครียด ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ/การเจ็บป่วย ส่งเสริมให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน ส่งเสริมให้เกิดความผูกพันในองค์กร และการส่งเสริมให้เกิดความสมดุลของการดำเนินชีวิตกับการทำงาน)
หมวดที่ 4 บรรยากาศในการทำงาน (ผู้นำสูงสุดมีแนวทางการสร้างสุขอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นแบบการสร้างสุขในองค์กร บรรยากาศในการทำงานที่ส่งเสริมความสุข สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี และความปลอดภัยในการทำงาน)
หมวดที่ 5 การลงทุนเพื่อการสร้างสุขในองค์กร (การกำกับดูแลนโยบายองค์กรสร้างสุข การสื่อสารเรื่องการสร้างสุขในองค์กรการเรียนรู้ในองค์กร สนับสนุนทรัพยากร การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสุข และ
กระบวนการประเมินองค์กรสร้างสุข)
2. พันธกิจ (Mission)
-
จัดระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และ ตติยภูมิระดับสูง ที่มีความเชี่ยวชาญ
-
วิจัย พัฒนา และจัดการความรู้ด้านสุขภาพเพื่อการสร้างสรรค์ และพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง
-
ส่งเสริมสุขภาพประชาชน และสร้างเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน
-
ร่วมผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ด้วยมาตรฐานการจัดการศึกษา
-
พัฒนาโรงพยาบาลสู่องค์กรสมรรถนะสูง ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นองค์กรแห่งความสุข
3. เป้าประสงค์สูงสุด (Ultimate Goal)
-
ผู้รับบริการ :ได้รับบริการตามมาตรฐานอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย มีความพึงพอใจ และ
ความเชื่อมั่นต่อบริการ
ผู้ให้บริการ :บุคลากรมีศักยภาพ ได้รับการพัฒนาความเชี่ยวชาญทุกวิชาชีพ ก้าวทันเทคโนโลยี
พร้อมบริการด้วยใจ มีความสุขในการทำงาน และคุณภาพชีวิตที่ดี
องค์กร :เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน
คุณภาพโรงพยาบาล(ระดับ Advanced Hospital Accreditation : A-HA และ TQA)
ประชาชน/ชุมชน :ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสุขภาพ และประชาชนมีสุขภาวะที่ดี
-
4. ค่านิยมองค์กร (Core value)
“เป็นคนดีมีคุณธรรม น้อมนำบริการดุจญาติมิตร มุ่งผลสัมฤทธิ์ด้วยความเชี่ยวชาญ สื่อสารทำงานเป็นทีม
MNST ( M: Moral N:Nice S:Specialty T:Teamwork) ”
5. อัตลักษณ์ (Identity)
“ พูดดี มีน้ำใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส ใส่ใจบริการ ”
-
7. สีประจำโรงพยาบาล (ม่วง)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2426
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล และอุปราชมณฑลปักษ์ใต้[5]
ทรงประทับ ณพระตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา และ
วังโพธิยายรดจังหวัดนครศรีธรรมราช
(ปัจจุบันเป็น โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช)
ทรงตั้งกรมเสือป่ามณฑลนครศรีธรรมราช
สีม่วง
รหัสสี : RGB code #7646CF
8. คำขวัญ (Motto)
“ โรงบาลของคนคอน โรงพยาบาลเพื่อชาวใต้ ”
9. ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue)
-
พัฒนาคุณภาพบริการทางการแพทย์สู่ความเป็นเลิศ
-
สร้างเสริมการจัดการสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคีเครือข่าย
-
People Excellent บุคลากรเชี่ยวชาญในวิชาชีพและบริการ คุณภาพคู่คุณธรรม
-
พัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์สู่ความเป็นเลิศ
-
บูรณาการ นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ (Management and Innovation)
ระบบงานสนับสนุนด้วยหลักธรรมาภิบาล
-
พัฒนาศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกให้มีคุณภาพ มาตรฐานอุดมศึกษาชั้นนำ
-