แนวทางการจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง

ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs) คือกลุ่มยาที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย เพราะมีดัชนี การรักษาแคบหรือมีผลข้างเคียงร้ายแรงต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ไต ฯลฯ รายการยาที่ประกาศเป็น High Alert Drugs ของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ได้แก่

1. กลุ่ม Adrenergic agonist ได้แก่ - Adrenaline , Norepinephrine, Dopamine, Dobutamine

2. กลุ่ม Electrolytes ได้แก่ - Potassium Chloride inj. ,Calcium gluconate inj. , 3% NaCl inj., Dipotassium phosphate inj., 
    Magnesium sulfate inj.

3. กลุ่ม Anticoagulants และ กลุ่ม Antithrombolytics ได้แก่ - Heparin inj. , Enoxaparin inj., Warfarin
    Alteplase(rt-PA), Streptokinase(SK)

4. กลุ่ม Insulin injection 

5. กลุ่ม Narcotic injection ได้แก่ - Morphine Sulfate, Pethidine HCI, Fentanyl

6. กลุ่ม Vasodilator ได้แก่ - Nitroglycerine inj , Sodium nitroprusside inj , Nicardipine inj 

7. กลุ่ม Sedative ได้แก่ - Midazolam ,Chloral hydrate และ กลุ่ม Hypnotic ได้แก่
    - Propofol,Thiopental sodium 1g/vial, Ketamine inj, Propofol inj, Thiopental inj Ketamine inj

8. กลุ่ม Neuromuscular blocking agents: Cisatracurium

9. กลุ่มยาเคมีบำบัด

 

รายการที่ 1 – 8 กำหนดให้เป็นรายการยาที่ทุกหน่วยงานต้องติดตามผลการใช้ยาตามแนวทางที่กำหนด

รายการที่ 9 เป็นรายการยาที่เฝ้าระวังตามความจำเป็นของหน่วยงาน

 

แนวทางปฏิบัติการสั่งจ่ายยากลุ่มเสี่ยงสูง

1 แพทย์ไม่สั่งยากลุ่มเสี่ยงสูงด้วยวาจา  ยกเว้น  กรณีทำหัตถการ หรือเร่งด่วน

2 ไม่ใช้คำย่อในการสั่งยาที่นอกเหนือจากระเบียบการสั่งจ่ายยาของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

3 แพทย์พิจารณาผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ  หรือ  ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญก่อนสั่งยากลุ่มเสี่ยงสูงให้แก่ผู้ป่วย

4 แพทย์คำนวณขนาดยาซ้ำ  กรณีต้องมีการคำนวณตามน้ำหนักหรือพื้นที่ผิวเมื่อสั่งยากลุ่มเสี่ยงสูง  เช่น  ยาเคมีบำบัด

5  แพทย์พิจารณาข้อห้ามใช้และปฏิกิริยาระหว่างยากลุ่มเสี่ยงสูงกับยาอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยใช้อยู่ก่อน      การสั่งใช้ยากลุ่มเสี่ยงสูง

6 ถ้ามีฟอร์มสำเร็จรูป ให้แพทย์ใช้ฟอร์มสำเร็จรูปในการสั่งยากลุ่มเสี่ยงสูง เช่นแพทย์สั่งยา กรณียาเคมีบำบัดโดยมีระบบการสั่งใช้ยาใน Cytotoxic order form

7 แพทย์เป็นผู้พิจารณาและระบุในใบสั่งยาก่อนทุกครั้ง  เมื่อมีการใช้ยากลุ่มเสี่ยงสูง

 

แนวทางปฎิบัติการจ่ายยากลุ่มเสี่ยงสูง

1 เมื่อได้รับใบสั่งยากลุ่มเสี่ยงสูง  เภสัชกรต้องตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย  ชื่อยา  ขนาดยา  ปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug interaction) และข้อห้ามใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละราย กรณีที่พบปัญหาเภสัชกรต้องติดต่อแพทย์ผู้สั่งยา ทันที

2 การจ่ายยากลุ่มเสี่ยงสูง  ให้กระทำโดยมีการตรวจสอบซ้ำจากเภสัชกรเสมอ  และ รายการยาที่เป็น High alert drug กลุ่ม 1-8 ให้จ่ายยาที่ติดสติกเกอร์ “High alert drug” พร้อมฉลากที่ระบุ critical point

3 การจ่ายยากลุ่มเสี่ยงสูงเพื่อให้ผู้ป่วยนำไปใช้ที่บ้าน  ต้องติดฉลากช่วยข้อควรระวังไว้ที่ซองยาหรือขวดยา  หรือมีเอกสารแนะนำผู้ป่วยประกอบการส่งมอบยา เภสัชกรเป็นผู้ตรวจสอบ  ส่งมอบและให้ความรู้ใน การใช้ยาและเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยากลุ่มเสี่ยงสูงให้ผู้ป่วยทราบ

 

แนวทางการบริหารยา  กรณีผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล

1 เมื่อแพทย์สั่งยากลุ่มเสี่ยงสูง  พยาบาลต้องตรวจสอบ  ชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย  ชื่อยา  ขนาดยา ให้ถูกต้องก่อนให้ยาผู้ป่วย 

2 การเตรียมยาให้ปฏิบัติตามที่ระบุในคู่มือ

3 มีการตรวจสอบซ้ำโดยพยาบาลอีกคนหนึ่งก่อนให้ยาแก่ผู้ป่วย